หน้าที่
1.
|
10 Nov 2015
|
พลาสติกชีวภาพ Master Batch จากวัสดุ 2G ผลิตโดย Vanetti ได้รับการรับรองแล้ว
บริษัท Vanetti ผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพ Master Batch จากวัสดุ 2nd Generation ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Biomasterbatches ได้รับการรับรองจาก Vincotte OK Compost เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับการพัฒนาพลาสติกชีวภาพชนิดนี้ เป็นการเน้นที่การวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นการปรับโครงสร้างในระดับโมเลกุล และมีการปรับโครงสร้างทางเคมีเพื่อให้วัสดุสามารถขึ้นรูป พร้อมทั้งยังสามารถผสมสีได้ด้วย
อ่านรายละเอียด
|
|
2.
|
25 Aug 2015
|
วัสดุชีวภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร
จากการศึกษาของ Wageningen UR ในปี 2012 ภายใต้โครงการ Sustain การศึกษามีชื่อว่า Biobased Performance Materials (BPM) ซึ่งทำการศึกษาผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของวัสดุที่ผลิตจากปิโตรเลียมและผลิตจากวัสดุชีวภาพ ในหลายกรณี เช่น การปล่อย CO2 และการใช้พลังงานจากการผลิตวัสดุชีวภาพ เป็นต้น ซึ่งพบว่า การผลิตวัสดุชีวภาพปล่อย CO2 น้อยกว่าและใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากกว่าเปรียบเทียบกับวัสดุที่ผลิตจากปิโตรเลียม ยกตัวอย่างเช่น การผลิต PUR หรือ Polyurethane จากปิโตรเคมี 1 กิโลกรัม ปล่อย CO2 4.7 กิโลกรัม ในขณะที่ PUR ชีวภาพ ปล่อย CO2 เพียง 4.0 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ยังใช้พลังงานมากในการผลิต ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายในการผลิตวัสดุชีวภาพที่จะต้องหาวิธีการที่ใช้พลังงานที่น้อยกว่าเดิม ซึ่งอาจจะต้องพัฒนากระบวนการทางเคมีใหม่ทั้งหมด ถ้าเป็นไปได้
อ่านรายละเอียด
|
|
3.
|
29 May 2015
|
โครงการพัฒนาวัสดุชีวภาพประสิทธิภาพสูงได้รับการรับรองแล้ว 9 โครงการ
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ทาง the Chemical of Advanced Materials Council ได้อนุมัติโครงการพัฒนาวัสดุชีวภาพประสิทธิภาพสูง 9 โครงการ โดยงานวิจัยจะพัฒนาวัสดุหลายประเภท เช่น วัสดุผลิตเป็นหลังคา พรม จาก Bitumen ชีวภาพ, หมึกพิมพ์จากวัสดุชีวภาพ
อ่านรายละเอียด
|
|
4.
|
31 Oct 2014
|
พลาสติกชีวภาพ มันดีจริงเหรอ
พลาสติกชีวภาพ คือพลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบที่มาจากแหล่งชีวภาพ ได้แก่ ต้นไม้ จุลชีพต่างๆ ซึ่งพลาสติกแบบดั้งเดิมนั้นผลิตจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่วัตถุดิบจากแหล่งชีวภาพ โดยคนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดอยู่ว่า พลาสติกชีวภาพนั้นย่อยสลายได้ดีกว่าพลาสติกแบบดั้งเดิม
ปัญหาของการใช้พลาสติกแบบดั้งเดิม คือ มันย่อยสลายยาก ใช้เวลาในการย่อยสลายที่ยาวนาน เนื่องจากโมเลกุลของพลาสติกมีขนาดใหญ่มาก โดยประมาณแล้วจะมีน้ำหนักโมเลกุลมากกว่า 10,000 กรัมต่อโมล เทียบกับน้ำซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 18 กรัมต่อโมลเท่านั้นเอง และนอกจากนี้ยังปัญหาเรื่องสารอันตราย ที่ใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งยังตกค้างอยู่ในพลาสติก ซึ่งจะทำให้เกิดมลพิษต่อแหล่งน้ำและสัตว์น้ำ เช่น สารเคมีจำพวก Polychlorinated Biphenyls, Nonylphenols และอนุพันธ์ของ DDT เป็นต้น อีกทั้งยังมีสารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร เช่น Bisphenol-A, Phthalates และ Nonylphenols เป็นต้น
อ่านรายละเอียด
|
|
5.
|
24 Oct 2014
|
5 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการลงทุนในระบบโรงกลั่นชีวภาพในสหรัฐอเมริกาที่ไทยควรนำมาพิจารณา
ช่วงที่ผ่านมามีการเปิดตัวโครงการและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่นชีวภาพ ของหลายบริษัท ไม่ว่าจะเป็นบริษัท POET-DSM Advanced Biofuels จากโครงการ LIBERTY Project ของบริษัท Abengoa ผู้ผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส ตั้งอยู่ใน Hugoton รัฐ Kansas และหน่วยสนับสนุนการผลิตพลาสติกชีวภาพของบริษัท INEOS ที่ Vero Beach ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นเสมือนทิศทางในการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาให้เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านไปยังการใช้พลังงานงานสะอาดในอนาคต
อ่านรายละเอียด
|
|
6.
|
18 Oct 2013
|
การศึกษาการเปรียบเทียบระหว่างพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพและพลาสติกที่ย่อยสลายได้แบบออกโซ
พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะ ทั้งนี้พลาสติกที่ย่อยสลายได้จะสัมพันธ์กับฟิล์มจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและขยะจากเศษอาหาร พลาสติกที่ย่อยสลายได้แบบออกโซเป็นพลาสติกที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาการทิ้งขยะ การใช้ พลาติกชีวภาพเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายได้เช่น วัตถุดิบและการนำไปใช้งาน นอกจากนี้ยังสามารถตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับการจัดการพลาสติกเมื่อหมดอายุการใช้งาน และการกำหนดความหมายของคำเฉพาะต่างๆเพื่อให้ประชาชนเข้าใจชัดเจน ไม่สับสนระหว่างคำว่า พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และพลาสติกที่ย่อยสลายได้แบบออกโซ ผลการศึกษาหลักประกอบไปด้วย
อ่านรายละเอียด
|
|
7.
|
30 Apr 2013
|
พลาสติกชีวภาพไม่ได้เป็นภัยต่อห่วงโซ่อาหาร
สมาคม European Bioplastics กล่าวว่าสัดส่วนของพลาสติกชีวภาพในปี 2554 คิดเป็นเพียง 0.006% ของพื้นที่เกษตรกรรมโลก ซึ่งแทบจะแข่งขันกับสัดส่วนห่วงโซ่อาหารไม่ได้เลย
อ่านรายละเอียด
|
|
หน้าที่