นโยบายการให้การส่งเสริมตามมาตรา 36(1) และ 36(2) |
กองยุทธศาสตร์และนโยบายการลงทุน
ธันวาคม 2550
ความเป็นมา
1. นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศใช้มาตรการต่างๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคการส่งออก หนึ่งในมาตรการนั้น คือ มาตรการให้การส่งเสริมแก่กิจการที่ประกอบการอยู่เดิม ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์การยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ และวัสดุจำเป็นที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อใช้ผลิตเพื่อการส่งออกตามมาตรา 36(1) และ 36(2) เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยให้เกิดสภาพคล่องแก่ผู้ส่งออกไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคาร และไม่มีภาระดอกเบี้ยในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีอากรวัตถุดิบก่อน ตั้งแต่ขั้นตอนนำเข้าวัตถุดิบ โดยในครั้งแรกให้การส่งเสริมแก่ 3 อุตสาหกรรม คือ การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป การผลิตเครื่องหนัง และการผลิตรองเท้า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2541 เป็นต้นมา
2. คณะกรรมการฯได้ขยายการให้การส่งเสริมจาก 3 อุตสาหกรรม เป็น 11 อุตสาหกรรม และ 15 อุตสาหกรรม คือ
1) เสื้อผ้าสำเร็จรูป
2) เครื่องหนัง
3) รองเท้า
4) เครื่องเรือนหรือเครื่องตกแต่ง
5) สิ่งทอ
6) ของเด็กเล่น
7) เครื่องกีฬา
8) ชิ้นส่วนยานพาหนะ |
9) ผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือเคลือบด้วยพลาสติก
10) ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน
11) ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน
12) อัญมณีและเครื่องประดับ
13) เลนส์
14) สิ่งพิมพ์
15) กิจการตัดและแปรรูปโลหะ (Coil Center)
Coil Center |
โดยจะต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ซึ่งต่อมาได้รับการขยายระยะเวลายื่นคำขอจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 และ 31 ธันวาคม 2546
3. ต่อมาคณะกรรมการฯได้มีนโยบายขยายการให้การส่งเสริมแก่ 3 อุตสาหกรรม จากเดิม 15 อุตสาห-กรรม ได้แก่ ชิ้นส่วนยานพาหนะ ผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือเคลือบด้วยพลาสติก และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนในประเทศสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก ด้วยการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติให้แก่ผู้ผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกทางอ้อมที่ไม่ได้รับสิทธิตามมาตรา 36(1) และ (2) ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อผลิตเพื่อการส่งออกตามมาตรา 36(1) และ(2) โดยจะต้องยื่นคำขอภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2550
การกำกับดูแล
สถาบันที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลการใช้สิทธิและประโยชน์ของอุตสาหกรรม 15 ประเภท ตามมาตรา 36(1) และ (2) สำหรับกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม มีดังนี้
อุตสาหกรรม |
สมาคม/สถาบันผู้กำกับดูแล |
(1) เสื้อผ้าสำเร็จรูป |
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย |
(2) เครื่องหนัง |
สมาคมเครื่องหนังไทย |
(3) รองเท้า |
สมาคมรองเท้าไทย |
(4) เครื่องเรือนหรือเครื่องตกแต่ง |
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย |
(5) สิ่งทอ (นอกเหนือจากเสื้อผ้าสำเร็จรูป) |
สหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย |
(6) ของเด็กเล่น |
สมาคมอุตสาหกรรมของเล่นไทย |
(7) เครื่องกีฬา |
สภาหอการค้าแห่งไทย |
(8) ชิ้นส่วนยานพาหนะ |
สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ |
(9) ผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือเคลือบด้วยพลาสติก |
สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย |
(10) ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน |
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
(11) ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ |
(12) อัญมณีและเครื่องประดับ |
สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับและสมาคมผู้ประกอบการเจียระไนเพชร |
(13) เลนส์ |
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย |
(14) สิ่งพิมพ์ |
สมาคมการพิมพ์ไทย |
(15) กิจการตัดและแปรรูปโลหะ(COIL CENTER) |
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย |
หลักเกณฑ์การให้การส่งเสริม
คณะกรรมส่งเสริมการลงทุนได้ออกประกาศที่ 1/2549 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 กำหนดหลักเกณฑ์การให้การส่งเสริมแก่ผู้ประกอบกิจการอยู่เดิมที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36(1) และ (2) ดังนี้
1. ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินการอยู่เดิมใน อุตสาหกรรม ที่มีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ดังต่อไปนี้
1.1) อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ
1.2) อุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือเคลือบด้วยพลาสติก
1.3) อุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน
2. ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจากสมาคม หรือหน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานฯ
3. ผู้ได้รับการส่งเสริมตามประกาศนี้จะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36(1) และ (2) เป็นระยะเวลา 1 ปี และจะได้รับพิจารณาขยายเวลาตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานฯกำหนด
4. จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ วิธีการ ในการใช้สิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36(1) และ (2) ตามที่สำนักงานฯกำหนด
ผลของการใช้มาตรการ
ผลของการใช้มาตรการให้การส่งเสริมแก่กิจการที่ประกอบการอยู่เดิมใน 15 อุตสาหกรรม ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36(1) และ (2) สรุปได้ดังนี้
- มีผู้ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมทั้งสิ้น 189 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป อิเล็คทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
- มีผู้ใช้สิทธิและประโยชน์แล้ว 104 ราย
ในปี 2547
- มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบรวม 7,145 ล้านบาท
- มูลค่าอากรขาเข้าวัตถุดิบที่ได้รับยกเว้น 1,161 ล้านบาท
- สร้างมูลค่าการส่งออกรวม 21,252 ล้านบาท
ที่มา: http://www.boi.go.th