หน้าหลัก
การศึกษาการเปรียบเทียบระหว่างพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพและพลาสติกที่ย่อยสลายได้แบบออกโซ |
/การศึกษาการเปรียบเทียบระหว่างพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพและพลาสติกที่ย่อยสลายได้แบบออกโซ (9241)/PIU2013-10-18-01.jpg) | 2013-10-17
พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะ ทั้งนี้พลาสติกที่ย่อยสลายได้จะสัมพันธ์กับฟิล์มจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและขยะจากเศษอาหาร พลาสติกที่ย่อยสลายได้แบบออกโซเป็นพลาสติกที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาการทิ้งขยะ การใช้ พลาติกชีวภาพเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายได้เช่น วัตถุดิบและการนำไปใช้งาน นอกจากนี้ยังสามารถตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับการจัดการพลาสติกเมื่อหมดอายุการใช้งาน และการกำหนดความหมายของคำเฉพาะต่างๆเพื่อให้ประชาชนเข้าใจชัดเจน ไม่สับสนระหว่างคำว่า พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และพลาสติกที่ย่อยสลายได้แบบออกโซ ผลการศึกษาหลักประกอบไปด้วย
- การศึกษาพบว่าพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพส่วนใหญ่ผ่านตามข้อกำหนดของการใช้งาน - การศึกษามาตรฐานการย่อยสลายได้ทางอุตสาหกรรม - การศึกษาผลการย่อยสลายทางชีวภาพของพลาสติกที่ผ่านการรับรองโดยห้องปฏิบัติการและสถาบันพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ - การศึกษาพบว่าการทดสอบประสิทธิภาพการย่อยสลายได้ทางชีวภาพของพลาสติกที่ย่อยสลายได้แบบออกโซดำเนินการในสภาพแวดล้อมที่ไม่สมจริงและเมื่อทดสอบซ้ำจะไม่ได้ผลเช่นเดิม - พลาสติกที่ย่อยสลายได้แบบออกโซไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของกระบวนการการย่อยสลายในอุตสาหกรรมหรือกระบวนการย่อยสลายของครัวเรือน ทั้งนี้ได้ทำการทดสอบด้วยมาตรฐานต่างๆหลายมาตรฐาน - การศึกษาพบว่าการใช้พลาสติกภายใต้แสงไฟควรใช้คำศัพท์ว่า พลาสติกที่แตกสลายด้วยความร้อนได้ หรือการแตกสลายด้วยแสง (Thermo- or photofragmentable plastics) แทนคำว่าพลาสติกที่ย่อยสลายได้แบบออกโซ (oxo-degradable plastics)
อ้างอิงจาก Plastics Europe http://bit.ly/1gDRyyD
Tag: #Bioplastics #ความรู้เบื้อต้น Bioplastics #ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม Bioplastics
|